บทความ Excel, Access, SQL Server, ASP.NET, Windows, Database, IT
เก่งโค้ดงาน Business Intelligence ตอนที่ 2
ฟังก์ชันในภาษา M เป็นการจับคู่ระหว่างค่าอินพุตกับค่าเอาต์พุต เราสามารถเขียนนิยามฟังก์ชันได้โดยเริ่มจากการกำหนดชุดของอินพุต (ส่วนที่เป็นพารามิเตอร์ของฟังก์ชัน) แล้วตามด้วยนิพจน์ซึ่งทำหน้าที่คำนวณสิ่งที่จะเป็นผลลัพธ์ของฟังก์ชัน (ส่วนที่เป็นไส้ของฟังก์ชัน) โดยใส่เครื่องหมาย “ส่งไปยัง” ( => ) ไว้ระหว่างอินพุตกับนิพจน์

ข้อดีของภาษา C# เมื่อเทียบกับภาษาอื่น ๆ ตอนที่ 9
เมธอดเสริม (Extension Method) แปลกกว่าเมธอดสมาชิกอื่น ๆ ที่เวลานิยามเราต้องนิยามมันแบบสแตติกเมธอด (static method เมธอดที่เป็นสมาชิกของคลาส ไม่ใช่ของออพเจ็กต์) แต่เวลาเรียกใช้งานเรากลับต้องเรียกใช้งานแบบอินสแตนซ์เมธอด (instance method เมธอดที่เป็นสมาชิกของออพเจ็กต์ ไม่ใช่ของคลาส) พารามิเตอร์ตัวแรกของเมธอดเป็นตัวกำหนดว่าเมธอดนั้นทำงานกับอะไร ในรูปที่ 1 บรรทัดที่ 9 จะเห็นว่ามีคำสั่ง (โมดิไฟเออร์) this ปรากฏอยู่หน้าพารามิเตอร์ คำสั่ง this ทำหน้าที่กำหนดว่าเมธอดนี้ทำงานกับออพเจ็กต์ (ไม่ใช่กับคลาส)

มีอะไรใหม่ใน .NET Core 2 และ C# 7 : การ Deconstruct Tuple และ Type อื่น ๆ
ภาษาC# 7.0 ขึ้นไปสนับสนุนการประกาศตัวแปรแบบ discard ซึ่งเป็นตัวแปรแบบเขียนได้เท่านั้น (read-only) โดยที่ท่านจะประกาศตัวแปรแบบนี้กี่ตัวก็ได้ แต่ทุกตัวจะมีชื่อเดียวกันหมดคือ _ (เครื่องหมายขีดเส้นใต้หรือ underscore) ประโยชน์ของตัวแปรแบบ discard คือการนำไปใช้กับTuple (Tuple อ่านรายละเอียดเรื่องTupleได้จากบทความตอนก่อนหน้านี้) เพราะการรับค่าส่งกลับจากmethodที่ส่งค่ากลับเป็นTuple หรือการเรียกใช้methodที่มีพารามิเตอร์แบบ out เราจะต้องประกาศตัวแปรไว้รับค่า ซึ่งบ่อยครั้งที่เราไม่ต้องการใช้ค่าจากตัวแปรเหล่านั้น แต่ก็จำต้องประกาศ ทำให้โค้ดรกรุงรังโดยเปล่าประโยชน์

แนะนำการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python
ภาษา Python เป็นหนึ่งในตัวเลือกยอดนิยมอันดับต้นๆ ของภาษาโปรแกรมปัจจุบัน ด้วยจุดเด่นหลักที่ Python เป็นภาษาที่เรียนรู้และเข้าใจง่าย ทำให้ไม่ว่าจะเป็นเด็กประถมไปจนถึงผู้ใหญ่วัยทำงานก็สามารถที่จะใช้เวลาเรียนรู้และสร้างโปรแกรมอย่างง่ายได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการนำไปใช้ในการต่อยอดงานด้านต่างๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ บทความนี้จะช่วยให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจว่าภาษา Python คุ้มค่ากับการลงทุนศึกษาหรือไม่ครับ

Big Data Ecosystem คืออะไร
Big Data Ecosystem จะเป็นภาพใหญ่ของการทำงานกับ Big Data เริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ และ แสดงผลข้อมูล โดยที่เริ่มด้วยโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดเก็บ ประมวลผลและวิเคราะห์ (Process/Analytics) ซึ่ง Report/Application ดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญ ที่จะเป็นส่วนของ Big Data ecosystema

มีอะไรใหม่ใน .NET Core 2 และ C# 7 : สนับสนุนการใช้งาน Tuple
ใน.NET Core 2.0 สนับสนุนภาษา C# version 7.0 ที่มีtypeใหม่คือ “Tuple” (Tuple) และใน.NET Core 2.1 สนับสนุน C# 7.1 สนับสนุนการอ้างTupleแบบ Inferred ที่ช่วยให้การเขียนโค้ดทำได้กระชับขึ้น

DAX Function แนะนำฟังก์ชัน Related
บทความแนะนำฟังก์ชัน Related ด้วย DAX หรือ Data Analysis Expression เพื่อดึงข้อมูลข้ามตาราง

รู้จักกับโครงสร้างข้อมูล แบบ Dimensional Model
Microsoft ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ Microsoft SQL Server Integration Service ให้สามารถสกัดข้อมูลจากหลายแหล่งหลายโครงสร้าง (schema) แล้วมีเครื่องไม้เครื่องมือในการแปลงข้อมูลเหล่านั้นไปสู่โครงสร้าง (schema) แบบ Dimensional Model ของ Ralph Kimball ผู้อ่านสามารถติดตามหนังสือในเครือ Kimball Group ได้จาก http://www.kimballgroup.com

การสร้าง Data Model ด้วย Microsoft SQL Server Analysis Service และการเรียกใช้
Microsoft SQL Server Analysis Service เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับจัดการ Data Model ระดับ Enterprise ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ - Multidimensional Data Model ซึ่งเป็น โครงสร้างข้อมูลแบบ OLAP (cubes, dimensions, measures) - Tabular Data Model ซึ่งเป็น โครงสร้างข้อมูลแบบ Relational (model, tables, columns)

9 New Features ที่ต้องลองใน Excel 2016 (Infographic)
9 New Features ที่ต้องลองใน Excel 2016 (Infographic) ไม่ว่าจะเป็น Power Pivot, Power Query, Pivot Table, Map, New Chart, Tellme และ Lookup, Forecast เป็นต้น มาดูรายละเอียดใน Infographic และ บทความกันได้เลย
