นำเสนอสไตล์ TED Talk (ตอนที่ 2)

นำเสนอสไตล์ TED Talk (ตอนที่ 2)
ในบทความตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงการนำเสนอสไตล์ TED Talk [1] จากหนังสือขายดีของ Carmine Gallo [2]ซึ่งถอดรหัสออกมาเป็น 9 เคล็ดลับด้วยกัน
บทความในตอนที่ 2 นี้ เรามาต่อกันด้วยเทคนิคการนำเสนอสไตล์ TED Talk จาก Chris Anderson ประธาน TED Talk ตัวพ่อ
ซึ่งเทคนิคเหล่านี้นำมาจากหนังสือ TED Talks [3] ที่เขียนโดย Chris Anderson เอง และเพิ่งออกมาเมื่อต้นปี 2016 ซึ่งจะมีกลเม็ดเด็ดพรายอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะChris Anderson ได้เปรียบเทียบการนำเสนอในงาน TED Talk เหมือนกับคนโบราณที่ถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น
ผ่านการเล่าเรื่องรอบกองไฟ ตั้งแต่โบราณกาล ผู้คนจะล้อมวงกัน ฟังเรื่องเล่าที่น่าตื่นเต้นและเต็มไปด้วยอารมณ์ร่วม
การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ผ่านการบอกเล่าเรื่องในรูปแบบนี้ จนพัฒนามาสู่การพูดและการนำเสนอในที่สาธารณะ
ซึ่งหากฝึกฝนมาอย่างดี จะกลายเป็นการจุดประกายความคิดให้กับผู้ฟังทั้งห้องและเปลี่ยนทัศคติของผู้ฟังไปตลอดกาล
ในหนังสือเล่มนี้ ได้เจาะลึกถึงเทคนิครวมทั้งสิ้น 18 เทคนิค ที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์ตรงของ Chris Anderson เอง
ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ ดังนี้ค่ะ
-
Foundation เรื่องพื้นฐานก่อนการนำเสนอ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนเราจะรับปากนำเสนอ มีดังนี้
- มาสร้างทักษะการนำเสนอกัน การนำเสนอสามารถเปลี่ยนชีวิตได้ เช่น
ชีวิตของ Chris Anderson ที่การนำเสนอ 15 นาที ทำให้เขาได้รับโอกาสเป็นประธาน TED
และ การนำเสนอเพียงสั้น ๆ ทำให้ Elon Musk ประธาน SpaceX ยังคงดำเนินงานบริษัทต่อไปได้ในวันที่จรวดของเขาระเบิดเป็นครั้งที่ 3
ถึงแม้ว่าทุกคนกลัวการนำเสนอ แต่การนำเสนอเพียงต้องการความเป็นตัวคุณ และการเตรียมตัวที่ดีเท่านั้นเอง
และ การนำเสนอเพียงสั้น ๆ ทำให้ Elon Musk ประธาน SpaceX ยังคงดำเนินงานบริษัทต่อไปได้ในวันที่จรวดของเขาระเบิดเป็นครั้งที่ 3
ถึงแม้ว่าทุกคนกลัวการนำเสนอ แต่การนำเสนอเพียงต้องการความเป็นตัวคุณ และการเตรียมตัวที่ดีเท่านั้นเอง
- การหาไอเดีย การนำเสนอที่ดีต้องให้ไอเดียที่จะคงอยู่กับผู้ฟังไปตลอดชีวิต
ดังนั้น หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้นำเสนอคือนำพาเอาสิ่งที่สำคัญอย่างลึกซึ้งต่อตนเอง ไปก่อร่างสร้างตัวยังหัวใจของผู้ฟังให้ได้
ใครก็ตามที่มีไอเดียที่ดีที่ “น่าแบ่งปัน” ก็จะสามารถนำเสนออย่างมีพลังได้
ลองถามตัวเองดูว่า อะไรคือหนึ่งไอเดียที่คุณอยากแบ่งปันให้คนอื่นได้รับรู้
แล้วนำมันมานำเสนอผ่านภาษาและคำพูดที่เตรียมไว้อย่างดี ประดุจการเดินทางที่สนุกสนาน
ใครก็ตามที่มีไอเดียที่ดีที่ “น่าแบ่งปัน” ก็จะสามารถนำเสนออย่างมีพลังได้
ลองถามตัวเองดูว่า อะไรคือหนึ่งไอเดียที่คุณอยากแบ่งปันให้คนอื่นได้รับรู้
แล้วนำมันมานำเสนอผ่านภาษาและคำพูดที่เตรียมไว้อย่างดี ประดุจการเดินทางที่สนุกสนาน
- ระวังหลุมพราง! วิธีพูดบางอย่างอาจไม่เหมาะที่จะใช้ในการนำเสนอ เช่น
การพูดเพื่อขายอย่างตรงไปตรงมา จะเป็นการลดความน่าเชื่อถือของผู้พูด
การบ่นไปเรื่อยๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้พูดไม่ได้เตรียมตัวมาดีพอ
ส่วนการเล่าถึงทีมงานมากเกินไป อาจเป็นการใช้เวลาโดยไม่ได้ประโยชน์กับผู้ฟัง
และ การตั้งใจปลุกเร้าแรงบันดาลใจจนเกินพอดีก็อาจทำให้ฟังดูเชยได้
การบ่นไปเรื่อยๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้พูดไม่ได้เตรียมตัวมาดีพอ
ส่วนการเล่าถึงทีมงานมากเกินไป อาจเป็นการใช้เวลาโดยไม่ได้ประโยชน์กับผู้ฟัง
และ การตั้งใจปลุกเร้าแรงบันดาลใจจนเกินพอดีก็อาจทำให้ฟังดูเชยได้
- เส้นเชื่อมประเด็น (Throughline) คือ ธีมที่เชื่อมประเด็นที่ต้องการสื่อสารเข้าด้วยกันอย่างมีทิศทาง
อาจมีการยั่วความสนใจของผู้ฟังให้ สงสัย หรือประหลาดใจ
เราอาจเริ่มต้นจากการสร้าง throughline ด้วยคำ 15 คำที่สื่อถึงเนื้อหาสำคัญ
เช่น “ยิ่งมีทางเลือกมากก็ยิ่งไม่มีความสุข” , “ด้วยภาษากาย คุณสามารถแกล้งทำจนกลายเป็นเรื่องจริง” ,
“ธงเมืองแย่ๆ สามารถเผยให้เห็นถึงความลับของการออกแบบที่น่าประหลาดใจ” เป็นต้น
ซึ่ง throughline จะทำให้ผู้ฟังติดตามเรื่องราวได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม ควรระวังการใส่หัวข้อมากเกินไป ควรถามตัวเองเสมอว่าสิ่งที่จะพูดสำคัญอย่างไรต่อผู้ฟัง แล้วใส่เรื่องราวของสิ่งนั้น
ส่วนโครงสร้างการนำเสนอทั่วไปจะประกอบด้วย การแนะนำหัวข้อ ความสำคัญของหัวข้อ แนวคิดหลัก การใช้งานจริง และสรุป
เราอาจเริ่มต้นจากการสร้าง throughline ด้วยคำ 15 คำที่สื่อถึงเนื้อหาสำคัญ
เช่น “ยิ่งมีทางเลือกมากก็ยิ่งไม่มีความสุข” , “ด้วยภาษากาย คุณสามารถแกล้งทำจนกลายเป็นเรื่องจริง” ,
“ธงเมืองแย่ๆ สามารถเผยให้เห็นถึงความลับของการออกแบบที่น่าประหลาดใจ” เป็นต้น
ซึ่ง throughline จะทำให้ผู้ฟังติดตามเรื่องราวได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม ควรระวังการใส่หัวข้อมากเกินไป ควรถามตัวเองเสมอว่าสิ่งที่จะพูดสำคัญอย่างไรต่อผู้ฟัง แล้วใส่เรื่องราวของสิ่งนั้น
ส่วนโครงสร้างการนำเสนอทั่วไปจะประกอบด้วย การแนะนำหัวข้อ ความสำคัญของหัวข้อ แนวคิดหลัก การใช้งานจริง และสรุป
-
Talk Tools เครื่องมือที่นำไปสู่การสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟัง ซึ่งเราสามารถผสมผสานเครื่องมือเหล่านี้ตามความเหมาะสม เครื่องมือสร้างความประทับใจ ได้แก่
- Connection คือ การสร้างสัมพันธ์ไปสู่ผู้ชม
ก่อนที่ผู้ชมจะรับฟังความคิดของเรา เราต้องทะลายกำแพงแห่งความลังเลสงสัยไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจเสียก่อน
โดยการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เช่น การสบตาผู้ฟังพร้อมส่งรอยยิ้มเล็กน้อย การพูดถ่อมตัวอย่างจริงใจ
การสอดแทรกมุขตลก(ที่ไม่ส่อเสียดใคร) และการเล่าเรื่องราว
นอกจากนี้ เราควรหลีกเลี่ยงการพูดเรื่องการเมืองและศาสนา และการยกตนข่มผู้ฟัง
โดยการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เช่น การสบตาผู้ฟังพร้อมส่งรอยยิ้มเล็กน้อย การพูดถ่อมตัวอย่างจริงใจ
การสอดแทรกมุขตลก(ที่ไม่ส่อเสียดใคร) และการเล่าเรื่องราว
นอกจากนี้ เราควรหลีกเลี่ยงการพูดเรื่องการเมืองและศาสนา และการยกตนข่มผู้ฟัง
- Narration การเล่าเรื่องราวเป็นการปรับสภาพจิตใจที่จะแบ่งปันและรับสาร
การเล่าเรื่องราวควรเน้นหลักการ 4 อย่าง ได้แก่
(1) มีตัวละครที่ผู้ฟังสามารถมีอารมณ์ร่วมได้ ซึ่งอาจเป็นตัวคุณเอง และเป็นเรื่องที่สำคัญกับคุณ
(2)สร้างความตึงเครียด เช่น ทำให้ผู้ฟังสงสัย หรือ ตัวละครหลักต้องเผชิญอันตราย
(3)ให้รายละเอียดที่มากพอ และ
(4)จบด้วยความพึงพอใจ เช่น ตลกขบขัน ประทับใจ หรือ เผยคำตอบที่น่าพอใจ
และอย่าลืมว่าเรื่องที่เล่าต้องเป็นไปตาม throughline ที่ตั้งไว้ และต้องเป็นเรื่องจริง
จึงจะทำให้ผู้ฟังค้นพบคุณค่าที่มีความหมายของเรื่องราวได้
(1) มีตัวละครที่ผู้ฟังสามารถมีอารมณ์ร่วมได้ ซึ่งอาจเป็นตัวคุณเอง และเป็นเรื่องที่สำคัญกับคุณ
(2)สร้างความตึงเครียด เช่น ทำให้ผู้ฟังสงสัย หรือ ตัวละครหลักต้องเผชิญอันตราย
(3)ให้รายละเอียดที่มากพอ และ
(4)จบด้วยความพึงพอใจ เช่น ตลกขบขัน ประทับใจ หรือ เผยคำตอบที่น่าพอใจ
และอย่าลืมว่าเรื่องที่เล่าต้องเป็นไปตาม throughline ที่ตั้งไว้ และต้องเป็นเรื่องจริง
จึงจะทำให้ผู้ฟังค้นพบคุณค่าที่มีความหมายของเรื่องราวได้
- Explanation ควรมีการอธิบายเรื่องที่เข้าใจยาก เมื่อคุณอธิบายเรื่องได้ดี ความตื่นเต้นของผู้ฟังก็จะตามมา
การอธิบายประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
(1) ควรเริ่มจากความรู้พื้นฐานของผู้ฟัง
(2) จุดประกายความสงสัย
(3) อธิบายแนวคิดใหม่ทีละเรื่อง
(4) ใช้การเปรียบเทียบ
(5) ใช้ตัวอย่างประกอบ
นอกจากนี้ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคกับผู้ฟังที่มีพื้นฐานหลากหลาย
(1) ควรเริ่มจากความรู้พื้นฐานของผู้ฟัง
(2) จุดประกายความสงสัย
(3) อธิบายแนวคิดใหม่ทีละเรื่อง
(4) ใช้การเปรียบเทียบ
(5) ใช้ตัวอย่างประกอบ
นอกจากนี้ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคกับผู้ฟังที่มีพื้นฐานหลากหลาย
- Persuasion การเชิญชวนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนความคิดในระยะยาว
การเชิญชวนจะได้ผลมักเริ่มจากการเตรียมผู้ฟังด้วยการทำลายความเชื่อเดิม
แล้วให้เหตุผลเป็นขั้นเล็ก ๆ ที่ผู้ฟังสามารถสรุปได้เอง
อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวัง หากจะใช้วิธีทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม
โดยควรเน้นไปที่ประเด็น ไม่ใช่ตัวบุคคลหรือองค์กร
นอกจากนี้ อาจใช้วิธีที่ทำให้ผู้ฟังร่วมเป็นนักสืบไปกับคุณ
โดยการค่อย ๆ ตัดความเป็นไปได้ออกทีละประเด็น จนเหลือเพียงประเด็นที่คุณต้องการสื่อสารเพียงประเด็นเดียว
อย่างไรก็ตาม การใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียวอาจไม่เชิญชวนผู้ฟังให้อยากฟังจนจบได้
อาจเพิ่มความน่าฟังด้วยอารมณ์ขัน เกร็ดความรู้ ตัวอย่างที่ชัดเจน การอ้างอิงสถาบันที่น่าเชื่อถือ หรือใช้สื่อชนิดอื่นร่วมด้วย
แล้วให้เหตุผลเป็นขั้นเล็ก ๆ ที่ผู้ฟังสามารถสรุปได้เอง
อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวัง หากจะใช้วิธีทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม
โดยควรเน้นไปที่ประเด็น ไม่ใช่ตัวบุคคลหรือองค์กร
นอกจากนี้ อาจใช้วิธีที่ทำให้ผู้ฟังร่วมเป็นนักสืบไปกับคุณ
โดยการค่อย ๆ ตัดความเป็นไปได้ออกทีละประเด็น จนเหลือเพียงประเด็นที่คุณต้องการสื่อสารเพียงประเด็นเดียว
อย่างไรก็ตาม การใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียวอาจไม่เชิญชวนผู้ฟังให้อยากฟังจนจบได้
อาจเพิ่มความน่าฟังด้วยอารมณ์ขัน เกร็ดความรู้ ตัวอย่างที่ชัดเจน การอ้างอิงสถาบันที่น่าเชื่อถือ หรือใช้สื่อชนิดอื่นร่วมด้วย
- Revelation การเผยโฉมเป็นการทำให้ผู้ฟังประหลาดใจจนลืมหายใจ อาจใช้การแสดงภาพเรียงต่อกันอย่างน่าพิศวงและมีเป้าหมาย
การสาธิตผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการแนะนำผลิตภัณฑ์เพียงเล็กน้อยก่อนการสาธิต
แต่ให้ผู้ชมได้เห็นความสามารถที่มหัศจรรย์ของผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเอง แล้วจึงกล่าวถึงการใช้งาน หรือการแสดงวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต
การแสดงวิสัยทัศน์สามารถทำได้ผ่านรูปภาพ รูปสเก็ตช์ การสาธิต หรือผ่านเพียงการบรรยายเท่านั้น
การแสดงวิสัยทัศน์คือการแบ่งปันความฝันในอนาคตซึ่งมีหลักการเพียง 2 ข้อ คือ
(1) สร้างภาพอนาคตที่คุณต้องการอย่างชัดแจ้ง และ
(2) ทำให้ชัดเจนจนผู้ฟังฝันเห็นอนาคตเดียวกัน
หากเราสื่อสารวิสัยทัศน์ได้ดีจะทำให้เราสามารถส่งต่อความฝัน ไปสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้อื่นและทำให้มันเป็นความจริงได้
เพราะความฝันที่จะมีอนาคตที่สวยงาม ทำให้เราและผู้ฟังทำงานหนักขึ้นเพื่อทำให้มันเป็นจริง
แต่ให้ผู้ชมได้เห็นความสามารถที่มหัศจรรย์ของผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเอง แล้วจึงกล่าวถึงการใช้งาน หรือการแสดงวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต
การแสดงวิสัยทัศน์สามารถทำได้ผ่านรูปภาพ รูปสเก็ตช์ การสาธิต หรือผ่านเพียงการบรรยายเท่านั้น
การแสดงวิสัยทัศน์คือการแบ่งปันความฝันในอนาคตซึ่งมีหลักการเพียง 2 ข้อ คือ
(1) สร้างภาพอนาคตที่คุณต้องการอย่างชัดแจ้ง และ
(2) ทำให้ชัดเจนจนผู้ฟังฝันเห็นอนาคตเดียวกัน
หากเราสื่อสารวิสัยทัศน์ได้ดีจะทำให้เราสามารถส่งต่อความฝัน ไปสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้อื่นและทำให้มันเป็นความจริงได้
เพราะความฝันที่จะมีอนาคตที่สวยงาม ทำให้เราและผู้ฟังทำงานหนักขึ้นเพื่อทำให้มันเป็นจริง
-
Preparation Process รวมถึงการ การเตรียมสื่อประกอบ การเขียนบท การซ้อม การเปิดและปิดการนำเสนอ
- Visuals รวมทั้งสื่อที่เป็น ภาพ ข้อความที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม กราฟ infographics แอนิเมชัน วิดีโอ เสียง และการ simulation ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างได้ด้วยซอฟต์แวร์สมัยใหม่อย่างง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม เราต้องถามตัวเองเสมอว่าสิ่งเหล่านี้จำเป็นหรือไม่
เนื่องจากการฉายสื่อเหล่านี้บนจอขณะที่เราพูด เป็นการดึงความสนใจผู้ชมออกจากผู้พูด
และการไม่มีสื่ออาจดีกว่าการมีสื่อแย่ ๆ อีกด้วย
การใช้สื่อต้องพิจารณาถึง 3 สิ่งนี้เป็นสำคัญ
(1) เปิดสื่อเพื่อแสดงบางสิ่งที่อธิบายด้วยคำพูดได้ยาก
(2) การอธิบายประกอบสื่อ โดยแสดง 1 ประเด็นต่อ 1 สไลด์ หากช่วงใดไม่ได้ใช้สื่อ ควรปิดสื่อไม่ให้รบกวนความสนใจ และ
(3) ความสวยงาม ซึ่งมีคำแนะนำในการใช้งานซอฟต์แวร์สร้างสื่อสไลด์ดังนี้
เนื่องจากการฉายสื่อเหล่านี้บนจอขณะที่เราพูด เป็นการดึงความสนใจผู้ชมออกจากผู้พูด
และการไม่มีสื่ออาจดีกว่าการมีสื่อแย่ ๆ อีกด้วย
การใช้สื่อต้องพิจารณาถึง 3 สิ่งนี้เป็นสำคัญ
(1) เปิดสื่อเพื่อแสดงบางสิ่งที่อธิบายด้วยคำพูดได้ยาก
(2) การอธิบายประกอบสื่อ โดยแสดง 1 ประเด็นต่อ 1 สไลด์ หากช่วงใดไม่ได้ใช้สื่อ ควรปิดสื่อไม่ให้รบกวนความสนใจ และ
(3) ความสวยงาม ซึ่งมีคำแนะนำในการใช้งานซอฟต์แวร์สร้างสื่อสไลด์ดังนี้
- เลือกใช้สัดส่วนหน้าจอที่เหมาะสมกับโปรเจ็คเตอร์ เช่น 16:9 หรือ 4:3
- อย่าใช้ template, bullet, dash ที่มากับซอฟต์แวร์
- ขยายรูปให้เต็มหน้าจอ หรือใช้พื้นหลังสีดำ และใช้รูปที่มีความละเอียดสูงสุดที่เป็นไปได้
- แนะนำให้ใช้ฟ้อนต์ Helvetica หรือ Arial (สำหรับภาษาอังกฤษ)
- ใช้ขนาดฟ้อนต์ 24 หรือใหญ่กว่านั้น
- ถ้าต้องวางตัวอักษรบนรูป หากวางแล้วอ่านยาก ให้ใส่สีเหลี่ยมสีดำรองตัวอักษรไว้
- สีตัวอักษรและสีพื้นหลังควรตัดกันเช่น สีขาว/ดำ หรือ เหลือง/ดำ ควรใช้ตัวอักษรสีเดียวกันทุกสไลด์ ยกเว้นในกรณีที่ต้องการเน้นความสำคัญหรือสร้างความประหลาดใจ อย่าใช้ตัวอักษรสีอ่อนบนพื้นสีอ่อน หรือตัวอักษรสีเข้มบนพื้นสีเข้มเป็นอันขาด!
- ให้ลองฉายตัวอักษรและสีพื้นที่เลือกบนจอที่จะนำเสนอ แล้วยืนห่างจากจอ 6-12 ฟุต ยังอ่านออกหรือไม่? ตัวอักษรแตกเป็นพิกเซลหรือไม่? ปรับให้เหมาะสม
- อย่าใช้ bullet, dash, ตัวเอียง, ตัวขีดเส้นใต้ หรือใช้หลาย effect กับตัวอักษรบรรทัดเดียวกัน
- แบ่งประเด็นให้ 1 สไลด์มีเพียงประเด็นเดียว
- ใส่แหล่งที่มาแบบย่อให้กับสื่อที่นำมา และใช้ตัวอักษรไม่ใหญ่เกินไป เช่น ขนาดฟ้อนต์ 10 (ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของสื่อถ้าเป็นไปได้)
- ถ้าต้องใส่รูปของทีมงาน ให้ใส่เพียงรูปเดียว เพราะไม่ได้มีความสำคัญใดๆ กับผู้ฟัง
- คลิปวีดีโอไม่ควรยาวกว่า 30 วินาทีและไม่ควรมีมากกว่า 2-4 คลิป
- ไม่ควรใส่ transition ระหว่างการเปลี่ยนสไลด์ ยกเว้นถ้าต้องการขึ้นเรื่องใหม่
- ควรรวมไฟล์ด้วยการ zip เพื่อให้ไฟล์ทั้งหมดอยู่ที่เดียวกัน (และรวมไฟล์ฟ้อนต์ด้วย) และมอบให้ผู้จัดล่วงหน้า 1 ชุดและพกติดตัวใน Flash Drive 1 ชุด
- ทดสอบเปิดไฟล์สไลด์ และไฟล์สื่อต่าง ๆ ก่อนการนำเสนอ
- ตั้งชื่อไฟล์โดยใส่ version เข้าไปด้วย ได้แก่ ชื่อคนที่แก้ไขไฟล์ล่าสุด, หมายเลข version, ชื่อสถานที่นำเสนอ และชื่องานที่นำเสนอ
- การเขียน SCRIPT ถึงแม้ว่า TED มักจะให้ผู้นำเสนอส่วนใหญ่เขียนสคริปต์ทุกคำและท่องจนกว่าจะจำได้อย่างดี
(เช่น ขับรถไปด้วยพูดสคริปต์ไปด้วยได้) แต่ Anderson ก็พบว่าวิธีนี้อาจไม่ได้ผลกับบางคน
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใช้สคริปต์หรือไม่ ก็ต้องซ้อมจนกว่าการพูดของคุณจะออกมาอย่างจริงใจและเป็นธรรมชาติ
การซ้อม นักดนตรีต้องซ้อม นักแสดงต้องซ้อม และนักพูดก็เช่นกัน
มิฉะนั้นเราอาจต้องอับอายเพราะผู้ฟังต้องทนทุกข์ทรมาณฟังสิ่งที่เราพูดโดยไม่ได้ผ่านการเตรียมตัวมาอย่างดี
และมักจะพูดจนเลยเวลา เทคนิคในการซ้อม คือ เราอาจซ้อมกับเพื่อนสนิทที่ไม่รู้เรื่องที่เราจะพูดมาก่อน
เพื่อให้ได้ feedback ที่ตรงไปตรงมา ควรซ้อม 25 – 100 รอบ และให้การพูดแต่ละครั้งอยู่ภายใน 90% ของเวลา
(เช่นมีเวลาพูด 10 นาที ควรซ้อมให้ได้ 9 นาที)
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใช้สคริปต์หรือไม่ ก็ต้องซ้อมจนกว่าการพูดของคุณจะออกมาอย่างจริงใจและเป็นธรรมชาติ
การซ้อม นักดนตรีต้องซ้อม นักแสดงต้องซ้อม และนักพูดก็เช่นกัน
มิฉะนั้นเราอาจต้องอับอายเพราะผู้ฟังต้องทนทุกข์ทรมาณฟังสิ่งที่เราพูดโดยไม่ได้ผ่านการเตรียมตัวมาอย่างดี
และมักจะพูดจนเลยเวลา เทคนิคในการซ้อม คือ เราอาจซ้อมกับเพื่อนสนิทที่ไม่รู้เรื่องที่เราจะพูดมาก่อน
เพื่อให้ได้ feedback ที่ตรงไปตรงมา ควรซ้อม 25 – 100 รอบ และให้การพูดแต่ละครั้งอยู่ภายใน 90% ของเวลา
(เช่นมีเวลาพูด 10 นาที ควรซ้อมให้ได้ 9 นาที)
- การพูดเปิดและพูดปิด เราพูดเปิดเป็นการเร้าให้คนฟังอยากรู้เรื่องที่เราจะพูด และการพูดปิดเป็นการพูดเพื่อให้คนฟังจดจำประเด็นได้
ดังนั้น เราจึงควรเขียนสคริปต์และจดจำคำพูดเปิดและพูดปิดให้ได้เป็นอย่างดี คนฟังสนใจเราเมื่อขึ้นเวที
และหมดความสนใจทันทีหากเราไม่สามารถเร้าความสนใจได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นอย่าเริ่มด้วยการถามถึงดินฟ้าอากาศ ควรเริ่มด้วยคำถามที่น่าประหลาดใจ
เรื่องสั้นสุดดราม่า ภาพ/คลิปวิดีโอ/สิ่งของที่น่าตื่นเต้น หรือการเร้าความสนใจผู้ฟังโดยไม่เฉลย
เราอาจใช้เทคนิค 10-1 นั่นคือ เราต้องทำให้ผู้ฟังสนใจภายใน 10 วินาทีแรก และทำให้ผู้ฟังอยากฟังต่อจนจบภายใน 1 นาทีแรก
ส่วนการพูดปิดจะเน้นที่การทำให้ผู้ฟังจดจำประเด็นของเราได้ อาจใช้การสรุปให้เห็นภาพใหญ่
การพูดส่งเสริมให้ลงมือทำ การพูดให้เห็นถึงคุณค่าและวิสัยทัศน์
การสรุปให้ครบทุกประเด็น หรือ จบด้วยบทกวี ก็ได้
และหมดความสนใจทันทีหากเราไม่สามารถเร้าความสนใจได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นอย่าเริ่มด้วยการถามถึงดินฟ้าอากาศ ควรเริ่มด้วยคำถามที่น่าประหลาดใจ
เรื่องสั้นสุดดราม่า ภาพ/คลิปวิดีโอ/สิ่งของที่น่าตื่นเต้น หรือการเร้าความสนใจผู้ฟังโดยไม่เฉลย
เราอาจใช้เทคนิค 10-1 นั่นคือ เราต้องทำให้ผู้ฟังสนใจภายใน 10 วินาทีแรก และทำให้ผู้ฟังอยากฟังต่อจนจบภายใน 1 นาทีแรก
ส่วนการพูดปิดจะเน้นที่การทำให้ผู้ฟังจดจำประเด็นของเราได้ อาจใช้การสรุปให้เห็นภาพใหญ่
การพูดส่งเสริมให้ลงมือทำ การพูดให้เห็นถึงคุณค่าและวิสัยทัศน์
การสรุปให้ครบทุกประเด็น หรือ จบด้วยบทกวี ก็ได้
-
On Stage ทำอย่างไรเมื่ออยู่บนเวที เช่น เสื้อผ้าหน้าผม การเตรียมใจ ท่วงท่า ลีลา และน้ำเสียง และรูปแบบที่แปลกใหม่
- เสื้อผ้า เลือกเสื้อผ้าที่ใส่แล้วมั่นใจและเหมาะกับโอกาส
อาจลองซ้อมพูดโดยใส่เสื้อผ้าที่เลือกไว้ก่อนเพื่อให้มั่นใจมากขึ้น ควรเลี่ยงการใส่ต่างหูหรือเครื่องประดับขนาดใหญ่
หากต้องใช้ไมโครโฟนไร้สายที่เหน็บไว้ที่เข็มขัด ควรเลือกใช้เข็มขัดที่แน่นหนามั่นคง เลือกเสื้อผ้าที่พอดีตัวและสีสดใสจะช่วยให้คุณโดดเด่นยิ่งขึ้น
หากต้องใช้ไมโครโฟนไร้สายที่เหน็บไว้ที่เข็มขัด ควรเลือกใช้เข็มขัดที่แน่นหนามั่นคง เลือกเสื้อผ้าที่พอดีตัวและสีสดใสจะช่วยให้คุณโดดเด่นยิ่งขึ้น
- เตรียมใจ ไม่ว่าจะเป็นนักพูดที่เชี่ยวชาญขนาดไหน ก็คงหลีกเลี่ยงความตื่นเต้นไปไม่พ้น Anderson ได้แนะนำเทคนิคสยบความตื่นเต้นดังนี้
- ใช้ความกลัวเป็นแรงผลักดันให้ซ้อม...ซ้อม...และซ้อมจนมั่นใจ
- ก่อนนำเสนอเล็กน้อย ให้ทำสมาธิด้วยการหายใจ หรือ ออกกำลังกาย ก็ได้ เพื่อลดอะดรีนาลีนในร่างกายลง
- ดื่มน้ำ ประมาณ 1 ในสามของขวดก่อนขึ้นเวทีเล็กน้อย
- อย่าให้ท้องว่าง ควรทานอาหารก่อนขึ้นเวที 1 ชั่วโมง
- ระลึกว่าความตื่นเต้นทำให้คนดูเอาใจช่วยเราไปด้วย
- มองหาเพื่อนในกลุ่มผู้ฟัง แล้วคิดเสียว่าพูดให้เพื่อนคนนั้นฟัง
- มีแผนสำรองในกรณีที่สิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
- ให้นึกถึงประเด็นสำคัญที่ต้องการสื่อสาร หลีกเลี่ยงการนึกถึงตัวเอง
- ลักษณะการจัดเวที บางเวทีมีโพเดียมให้ผู้พูดสามารถวางเอกสาร หรือ โน๊ตบุคได้ ซึ่งจะทำให้ผู้พูดสบายใจ แต่ผู้ฟังรู้สึกห่างเหิน
ดังนั้น TED จึงไม่ใช้โพเดียม เพื่อให้ผู้พูดสามารถเชื่อมต่อถึงใจของผู้ฟังได้ดียิ่งขึ้น
หากเวทีไม่มีโพเดียม เราอาจวางสคริปต์หรือขวดน้ำไว้หลังเวทีเผื่อในกรณีที่ต้องใช้
หากกลัวลืมสคริปต์ อาจใช้สไลด์ หรือกระดาษโน้ตเล็กๆ เป็นตัวช่วยไกด์สคริปต์ได้
แต่ไม่แนะนำให้ใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน เนื่องจากต้องคอย scroll ขึ้นลง และ ระวังหน้าจอเปลี่ยนไปเป็นแอพอื่น
นอกจากนี้ Anderson ยังไม่แนะนำการใช้จอภาพบอกบท เนื่องจากจะทำให้ผู้พูดต้องคอยมองจอเพื่ออ่านบท ทำให้ไม่สามารถมองตาผู้ฟังอย่างเป็นธรรมชาติได้
หากเวทีไม่มีโพเดียม เราอาจวางสคริปต์หรือขวดน้ำไว้หลังเวทีเผื่อในกรณีที่ต้องใช้
หากกลัวลืมสคริปต์ อาจใช้สไลด์ หรือกระดาษโน้ตเล็กๆ เป็นตัวช่วยไกด์สคริปต์ได้
แต่ไม่แนะนำให้ใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน เนื่องจากต้องคอย scroll ขึ้นลง และ ระวังหน้าจอเปลี่ยนไปเป็นแอพอื่น
นอกจากนี้ Anderson ยังไม่แนะนำการใช้จอภาพบอกบท เนื่องจากจะทำให้ผู้พูดต้องคอยมองจอเพื่ออ่านบท ทำให้ไม่สามารถมองตาผู้ฟังอย่างเป็นธรรมชาติได้
- น้ำเสียงและท่วงท่า การพูดให้อะไรได้มากกว่าการอ่าน การพูดสร้างความไว้วางใจระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง
สร้างความตื่นเต้น สร้างอารมณ์ร่วม และสร้างแรงบันดาลใจได้ดีกว่าการอ่าน น้ำเสียงที่ดีควรใช้น้ำเสียงแบบเพื่อนพูดกับเพื่อน
โดยมีอารมณ์ร่วมและเน้นไปที่คำที่ต้องการให้เพื่อนรับรู้ความหมาย ส่วนท่าทาง อาจใช้การยืน การเดิน หรือการนั่งก็ได้ตามแต่ที่คุณมั่นใจและเป็นตัวคุณเอง แต่ระวังการโยกไปมา หรือเขย่าขา ด้วยความตื่นเต้น
โดยมีอารมณ์ร่วมและเน้นไปที่คำที่ต้องการให้เพื่อนรับรู้ความหมาย ส่วนท่าทาง อาจใช้การยืน การเดิน หรือการนั่งก็ได้ตามแต่ที่คุณมั่นใจและเป็นตัวคุณเอง แต่ระวังการโยกไปมา หรือเขย่าขา ด้วยความตื่นเต้น
- รูปแบบใหม่ ๆ ในการพูดแต่ละครั้ง มีเพียงเวลาเท่านั้นที่เป็นข้อจำกัดของคุณ คุณอาจใช้รูปแบบใหม่ๆ ช่วยให้การพูดของคุณน่าสนใจยิ่งขึ้น
ได้แก่ อุปกรณ์สุดดราม่า เช่นทำให้เกิดเสียงดัง หรือ ทำให้กลัว, จอภาพรอบทิศทาง,
ตัวกระตุ้นหลายสัมผัส เช่น กลิ่น รส เสียง ภาพสามมิติ เป็นต้น,
จัดรายการวิทยุสดๆ, สัมภาษณ์พร้อมภาพประกอบ, ใช้บทกวีร่วมกับแอนิเมชัน, มีเพลงซาวน์แทรค,
ใช้วิธีของศาสตราจารย์ Lessig (แสดงสไลด์ที่มีทุกคำที่พูด ให้ตรงจังหวะที่พูดเป๊ะ ๆ) ,
ใช้ผู้พูด 2 คนที่มีเคมีตรงกัน, ใช้รูปแบบโต้วาที, ใช้การพูดแบบรีบเร่งโดยใช้เวลากับแต่ละสไลด์เพียง10 วินาที,
ใช้รูปภาพโดยไม่ใช้คำพูด, ใช้แขกรับเชิญสุดเซอร์ไพรซ์, ใช้ผู้พูดแบบเสมือนจริง เช่น 3D Hologram หรือ หุ่นยนต์สื่อสารระยะไกล,
และสุดท้าย ใช้การบันทึกวีดีโอการพูดแบบไม่มีคนฟัง ซึ่งสามารถตัดต่อใส่ effect เข้าไปได้ด้วย
ตัวกระตุ้นหลายสัมผัส เช่น กลิ่น รส เสียง ภาพสามมิติ เป็นต้น,
จัดรายการวิทยุสดๆ, สัมภาษณ์พร้อมภาพประกอบ, ใช้บทกวีร่วมกับแอนิเมชัน, มีเพลงซาวน์แทรค,
ใช้วิธีของศาสตราจารย์ Lessig (แสดงสไลด์ที่มีทุกคำที่พูด ให้ตรงจังหวะที่พูดเป๊ะ ๆ) ,
ใช้ผู้พูด 2 คนที่มีเคมีตรงกัน, ใช้รูปแบบโต้วาที, ใช้การพูดแบบรีบเร่งโดยใช้เวลากับแต่ละสไลด์เพียง10 วินาที,
ใช้รูปภาพโดยไม่ใช้คำพูด, ใช้แขกรับเชิญสุดเซอร์ไพรซ์, ใช้ผู้พูดแบบเสมือนจริง เช่น 3D Hologram หรือ หุ่นยนต์สื่อสารระยะไกล,
และสุดท้าย ใช้การบันทึกวีดีโอการพูดแบบไม่มีคนฟัง ซึ่งสามารถตัดต่อใส่ effect เข้าไปได้ด้วย
สุดท้าย Anderson สรุปว่า ทักษะในการนำเสนอด้วยการพูด เป็นทักษะที่จำเป็นในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า
เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สามารถทำงานพื้นฐานต่าง ๆ แทนมนุษย์ได้แล้ว ส่วนงานที่เทคโนโลยีทำไม่ได้
และต้องใช้มนุษย์จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การวางแผนกลยุทธ์ การใช้ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม
รวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้และแรงบันดาลใจจากมนุษย์สู่มนุษย์
ดังนั้น ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลเพียงใด แต่งานของมนุษย์และการถ่ายทอดแรงบันดาลใจก็ยังคงต้องมีอยู่ต่อไป
ที่มา
เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สามารถทำงานพื้นฐานต่าง ๆ แทนมนุษย์ได้แล้ว ส่วนงานที่เทคโนโลยีทำไม่ได้
และต้องใช้มนุษย์จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การวางแผนกลยุทธ์ การใช้ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม
รวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้และแรงบันดาลใจจากมนุษย์สู่มนุษย์
ดังนั้น ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวไปไกลเพียงใด แต่งานของมนุษย์และการถ่ายทอดแรงบันดาลใจก็ยังคงต้องมีอยู่ต่อไป
ที่มา
- TED. เข้าถึงได้จาก: https://ted.com.
- Gallo,Carmine (2014) Talk Like TED: The 9 Public-Speaking Secrets of The World’s Top Minds. St. Martin's Griffin.
- Anderson, Chris (2016) TED Talks:The Official TED Guide to Public Speaking.Houghton Mifflin Harcourt.
บทความโดย
ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์