Thailand 4.0 อะไร...อะไร...ก็ 4.0

ในการสร้างโมเดล Thailand 4.0 หรือ "ประเทศไทย 4.0" หรือ "ไทยแลนด์ 4.0" ที่เป็น Value-based Economy นั้น ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 5 อุตสาหกรรมหลักได้แก่
- Food, Agriculture & Bio-tech
- Health, Wellness & Bio-Medical
- Smart Devices, Robotics & electronics
- Digital & Embedded Technology
- Creative, Culture & High Value Service
ตัวเลข 4 ในคำว่า Industry 4.0 มาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยยุคที่ 1 เกิดเครื่องจักรไอน้ำ ในยุคที่ 2 มีการนำไฟฟ้า มอเตอร์ และสายพานมาใช้ ส่วนในยุคที่ 3 เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดการผลิตแบบอัตโนมัติเกิดขึ้น ส่วนในยุคที่ 4 จะเน้นที่ cyber-physical systems (CPS) คือนำข้อมูลทุกอย่างจาก sensor ไปไว้บน digital platform และเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันด้วย IoT กลายเป็น Smart Factory ที่สามารถแสดงสถานะแบบเวลาจริงได้ทุกที่ทุกเวลาผ่าน Cloud ซึ่งจะทำให้เกิด Mass Customization ทำให้โรงงานสามารถผลิตสินค้าที่ customized ตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย
เมื่อไม่นานนี้ นายกสภาอุตสาหกรรมได้ระบุว่า Industry 4.0 สามารถแก้ปัญหาอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้ ได้แก่ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดย Industry 4.0 ทำให้คนทำงานได้อย่างมี Productivity สูงขึ้น จึงใช้จำนวนคนน้อยลง ส่วนปัญหาการแข่งขันในตลาดสูง ก็จะทำให้มี Market Share ต่ำลง Industry 4.0 สามารถทำให้องค์การนำหน้าการแข่งขันในตลาดได้ เนื่องจากมีข้อมูลแบบเวลาจริงตลอดเวลา ทำให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ด้านปัญหาต้นทุนการผลิตสูง Industry 4.0 ก็จะช่วยลดต้นทุนในระยะยาวเนื่องจากทำให้การผลิตเกิดประสิทธิภาพ ส่วนปัญหาสินค้าที่ผลิตขึ้นไม่น่าตื่นเต้น Industry 4.0 ก็สามารถผลิตสินค้าที่ customized ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และสุดท้าย ปัญหากำไรน้อย เมื่อ Industry 4.0 สามารถช่วยสร้างสินค้าที่ตรงกับความต้องการลูกค้า ดังนั้นผู้ผลิตจึงสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น
ส่วน 4.0 คำสุดท้ายที่ขอเสนอในบทความนี้ คือคำว่า Education 4.0 เกิดขึ้นจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "การศึกษาระบบ Chula Engineering Education 4.0" อย่างเป็นทางการไปเมื่อปี 2557 ในช่วงที่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนไปสู่นักสร้างนวัตกรรม
การศึกษาระบบ 1.0 เป็นการศึกษาที่เน้นการบรรยายและการจดจำความรู้ ส่วนการศึกษาระบบ 2.0 เป็นการศึกษาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง การศึกษาระบบ 3.0 เป็นการศึกษาในปัจจุบันที่เป็นสังคมแห่งความรู้ ผู้เรียนต้องมีทักษะในการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำงานสร้างสรรค์ที่ไม่ซ้ำเดิม รวมถึงสามารถทำงานเป็นทีมได้ ในขณะที่การศึกษาระบบ 4.0 เป็นการศึกษาสู่อนาคต ที่เน้นการผลิตคนไปสร้างสรรค์นวัตกรรม
รูปที่ 1 ห้อง i-SCALE ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถึงแม้ว่า 4.0 ทั้ง 3 คำนี้ จะมีความหมายและที่มาแตกต่างกัน แต่ทั้งสามคำก็มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือการพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดับรายได้ปานกลาง โดยนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นแกนหลักในการส่งเสริมการพัฒนาประเทศอย่างเป็นองค์รวม จะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา รวมถึงภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการบริการด้วยเช่นกัน
ผู้เขียน
ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญวิทยากร 9Expert Training
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ที่มา
- ฐานเศรษฐกิจ, เวอร์ชันใหม่ ‘ประเทศไทย 4.0’(30 เมษายน 2559),เข้าถึงได้จาก: https://www.thansettakij.com/2016/04/30/48324.
- นครินทร์ ศรีเลิศ, กรุงเทพธุรกิจ, 'Thailand Economy 4.0' ความหวังไทย (16 พฤษภาคม 2559), เข้าถึงได้จาก :https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637748
- ไทยรัฐ, ไขรหัส "ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง (2 พ.ค. 2559), เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/content/613903.
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ, สัมมนาเรื่อง “ก้าวสู่ Industry 4.0 ด้วยเทคโนโลยี IoTs” (11 กรกฎาคม 2559), โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด, กรุงเทพฯ.
- Wikipedia, Industry 4.0, เข้าถึงได้จาก: https://en.wikipedia.org/wiki/Industry_4.0
- ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (26 พ.ย. 2557), "นวัตกรรมการคิดในห้องเรียน Chula Engineering Education 4.0", เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416982570
- งานเสวนา “Toward innovation สู่สังคมนวัตกรรม” (12 กรกฎาคม 2559), คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- CDIO. เข้าถึงได้จาก: https://cdio.org